วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data 1.(Hardware) ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้ เช่น ตัวเครื่อง จอภาพ คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะมีฮาร์ดแวร์หลัก ๆ ได้แก่ 1. ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่องจะมีอุปกรณ์หลัก ได้แก่ แผงวงจรหลัก หม้อแปลงไฟฟ้า ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง เป็นต้น 2. จอภาพ (Monitor) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ 3. ดิสก์ไดร์ฟ (Disk drive) เป็นอุปกรณ์อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต 4. คีย์บอร์ด (Keyboard) ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ 5. เม้าส์ (Mouse) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่างๆที่แสดงอยู่บนจอภาพ 6. ลำโพง (Speaker) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นเสียง ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ จำแนกตามหน้าที่ของฮาร์ดแวร์สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ 1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ 3. หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว 5. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์ ได้แก่ 1. คีย์บอร์ด (Keyboard) 2. เมาส์ (Mouse) 3.สแกนเนอร์ (Scanner) 4. แผ่นสัมผัส (Touch Pads) 5. กล้องดิจิทัล (Digital Camera) หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ 1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ - รอม (Read Only Memory - ROM) - แรม (Random Access Memory) 2. หน่วยความจำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำภายนอก (External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่ - ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) - ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) - ซีดี (Compact Disk - CD) - รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) - ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) - Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมี ขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ - เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) - การ์ดเมมโมรี (Memory Card) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU) หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้ 2. หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นอุปกรณ์ส่งออก (Output device) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์เมื่อซีพียูทำการประมวลผล 1. จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่เป็นภาพ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) และ จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display) 2. เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ในรูปของอักขระหรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดอตเมตทริกซ์ (Dot Matrix Printer) เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer) เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) และ พล็อตเตอร์ (Plotter) 3. ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปของเสียง สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านแผงวงจรเกี่ยวกับเสียง (Sound card) ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลไปเป็นเสียง 2.(Software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบพื้นฐานที่จำเป็นของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกัคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการ Dos ระบบปฏิบัติการ Window ระบบปฏิบัติการ linux ระบบปฏิบัติการ Unix เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกันและควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของระบบต่างๆ ได้แก่ 1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System Program) มีหน้าที่ - จองและกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ - จัดตารางงาน - ติดตามผลระบบ - ทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน - การจัดแบ่งเวลา - ประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ ออกจำหน่ายมาก เช่น โปรแกรม Microsoft Office โปรแกรม Adobe Photoshop CS2 โปรแกรม Nod 32โปรแกรม Win amp เป็นซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่สร้างขึ้น เพื่อทำงานเฉพาะอย่างโดยประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น ซอฟต์แวร์คำนวณเงินเดือนพนักงาน ซอฟต์แวร์ระบบบัญชีหรือซอฟต์แวร์ระบบคลังสินค้า เป็นต้น โดยซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ผู้ใช้พัฒนาขึ้นเอง (Customized Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้มีความต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่างให้ ซึ่งเป็นงานที่ไม่เคยมีผู้ใดพัฒนาโปรแกรมสำหรับทำงานลักษณะนี้มาก่อน ผู้ใช้จึงต้องพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้นมาเอง 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบบสำเร็จ (Package Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประมวลผลงานลักษณะใดลักษณะหนึ่งซึ่งมีผู้พัฒนาไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ต้องการใช้ซอฟต์แวร์ในลักษณะเดียวกันนี้เพียงแต่ไปซื้อหามาใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้เอง เราสามารถแบ่งซอฟต์แวร์สำเร็จรูปออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ 2.1 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานด้านการพิมพ์เอกสาร (Word Processing Software) 2.2 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานด้านการคำนวณ (Spreadsheet Software) 2.3 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้จัดการฐานข้อมูล (Database Management Software) 2.4 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานด้านการพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing Software) 2.5 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานด้านกราฟฟิก (Graphic Software) 2.6 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานประมวลผลทางสถิติ (Statistical Software) 2.7 โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับงานธุรกิจ (Business Software) 3.(Peopleware) หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานและสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการแบ่งออกได้ 4 ระดับ คือ 1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 4. ผู้ใช้ (User) 4.(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณสำหรับการหาค่าความจริง ข้อมูลอาจจะเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่น จำนวน ปริมาณ ระยะทาง ราคา ฯลฯ อาจจะเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ตัวเลข เช่น ชื่อ ที่อยู่ สถานภาพ และยังมีความหมายรวมถึง ข่าวสารที่ยังไม่ได้มีการประมวลผล เรียกว่า ข้อมูลพื้นฐาน (Primary Data) หรือ ข้อมูลดิบ (Raw Data) สารสนเทศ (Information) คือ ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณหรือประมวลผล อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้สามารถนำไปใช้ได้ทันที มักถูกใช้ในการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจ เรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) คือ การกระทำหรือการจัดการต่อข้อมูล อาจเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ได้จากเอกสารต้นฉบับ เรียกว่าข้อมูลพื้นฐาน หรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หรืออาจจะเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแล้ว เรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพื่อดำเนินขั้นตอนในการประมวลผลในลักษณะต่างๆ เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การตรวจสอบเงื่อนไข ทำให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ตามต้องการ 

แหล่งที่มา : http://tc.mengrai.ac.th http://www4.csc.ku.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น